วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552

แผนพัฒนาอำเภอหนองจิก

การจัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาอำเภอ(พ.ศ.2553-2556)
อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
SWOT

จุดแข็ง
1.มีฟาร์มตัวอย่าง 4 แห่ง
2. มีห้องเย็นเพื่อใช้ถนอมผลิตผลด้านการเกษตร
3.มีส่วนราชการระดับจังหวัดหลายหน่วยงาน
4.มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง
5.เป็นเมืองหน้าด่านของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
6.มีพื้นที่ชายฝั่งทะเล/ทรัพยากรทางทะเล
7.มีแหล่งน้ำที่สามารถนำมาใช้ในการเกษตรอย่างเพียงพอ
8.การคมนาคมสะดวก
9.ส่วนราชการทุกส่วนในพื้นที่มีศักยภาพ
10.มีผลิตผลด้านการเกษตรที่หลากหลาย
11.มีปราชญ์ชาวบ้าน/มีภูมิปัญญาท้องถิ่น
12.มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม
13.ประชาชนส่วนใหญ่มีความเชื่อถือต่อผู้นำสูง
14.มีสถานศึกษาที่หลากหลาย
จุดอ่อน
1.การใช้ประโยชน์ในที่ดินไม่เต็มที่
2.ระบบชลประทานใช้งานไม่เต็มที่
3.การศึกษาต่ำกว่ามาตรฐาน
4.ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม
5.วัยแรงงานไปทำงานต่างประเทศ

6.แหล่งท่องเที่ยวขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

7.ประชาชนไม่เข้าใจในการใช้กฎหมายของภาครัฐ

8.นิสัยคนส่วนใหญ่ชอบพึ่งพิง ไม่ช่วยเหลือตนเองทำให้ชุมชนไม่เข็มแข็ง

โอกาส

1.รัฐบาลให้ความสำคัญกับจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างต่อเนื่อง

2.สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดปัตตานี

3.เป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลกมุสลิม

4.มีระเบียบกฎหมายที่ส่งสเสริมและเอื้อต่อการพัฒนา

5.มีช่องทางการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรได้หลายทาง

6.มีเทคโนโลยีองค์ความรู้ด้านการเกษตรที่สามารถนำมาปรับปรุงโครงสร้างการเกษตร

อุปสรรค

1.สถานการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่

2.ภัยธรรมชาติทำให้ประสบปัญหาการประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ของประชาชน

3.ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ/ของโลกตกต่ำ

4.ปัญหาการเมืองในระดับประเทศ/และระดับพื้นที่

5.ตลาดด้านการเกษตรไม่แน่นอนมีความปรวนแปรสูง

6.ต้นทุนในการผลิต ผลิตผลทางการเกษตรสูง

วิสัยทัศน์

การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม บนพื้นฐานทรัพยากรที่หลากหลาย พัฒนาคุณภาพชีวติที่ดี สังคมสันติสุข

พันธกิจ

1.บริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมาภิบาล

2.ส่งเสริมการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร

3.ส่งเสริมประชาชนดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

4.ส่งเสริมการศึกษาทุกระดับ

5.เสริมสร้างความเข้าใจอันดี รู้รักสามัคคีและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

6.ส่งเสริมศาสนาและอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น

7.อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม

- เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ เพื่อให้การบริหารจัดการเกิดความโปร่งใสเป็นธรรม เสมอภาคอย่างทั่วถึง

- กลยุทธ์ 1. ให้บุคลากรทุกภาคส่วนมีจิตสาธารณะ

2. เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านพัฒนาคนและสังคมให้มีคุณภาพ

- เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์ 1. พัฒนาคุณภาพการศึกษา/พัฒนาคุณภาพชีวิตที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นและส่งเสริมสนับสนุนด้านอาชีพ

2. ประชาชนอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

- กลยุทธ์ 1. ยกระดับคุณภาพการศึกษา

2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการยกระดับคุณภาพชีวิต

3. การเสริมสร้างการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี

4. พัฒนาศักยภาพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

5. อนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

6. เพิ่มรายได้ลดรายจ่าย

7.